- HOME หน้าหลัก
- URBAN LIFEข่าวสารอสังหาริมทรัพย์
- Expat ในไทยอยู่ที่ไหนกัน?

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีการติดต่อการค้ากับนานาประเทศ ทำให้ กลุ่ม Expat จากชาติต่างๆ เข้ามาทำงานอยู่ภายในกรุงเทพฯ ไม่น้อยกว่า 55,000 คน ซึ่งได้กระจายตัวอยู่ตามทำเลต่างๆ ทั่วทั้งกรุงเทพฯ จากการเก็บข้อมูลของทางศูนย์ข้อมูลวิจัย และประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (AREA) พบว่าชาวต่างชาติอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมใหม่ที่สร้างเสร็จไม่เกิน 3 ปี ในกรุงเทพฯ มีจำนวนประมาณ 15,964 ยูนิต ซึ่งหลายคนคงเดาได้ว่า ย่านสุขุมวิทจะเป็นทำเลที่มีจำนวน Expat อยู่อาศัยมากที่สุดในกรุงเทพฯ โดยมีสัดส่วนมากถึง 40 % ของจำนวนยูนิตใหม่ที่มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ เนื่องจากย่านสุขุมวิทเป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นแหล่งที่ตั้งของบริษัทข้ามชาติชั้นนำจากนานาประเทศ ที่เข้ามาตั้งสาขาในประเทศไทย และยังมีการให้บริการของ Facility ที่ตอบสนองต่อความต้องการของ Expat ไม่ว่าจะเป็น International shopping center, international school, และ International Hospital ชั้นนำ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งสถานทูตที่ชาว Expat มักจะต้องแวะเวียนเข้ามาติดต่องานราชการอยู่เสมอ
รองลงมาได้แก่ย่านรัชดา-พระราม 9 อีกหนึ่งย่านฮอต ที่เพิ่งเติบโตขึ้นมาเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวน Expat คิดเป็นร้อยละ 15 ของจำนวนยูนิตใหม่ที่มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ ในบริเวณย่านรัชดา-พระราม 9 เป็นแหล่งที่ตั้งของสถานทูตจีน และเกาหลี นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์รวมออฟฟิศของบริษัทข้ามชาติจากประเทศจีน และเกาหลี อีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจ ที่กลุ่ม ชาวจีนและเกาหลี จะเข้ามาอยู่อาศัยในย่านนนี้เป็นจำนวนมาก และยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นย่าน New China Town แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ

และอันดับที่ 3 คือย่านธนบุรี-ตากสิน หลายคนอาจเซอร์ไพรส์ ที่ย่านธนบุรี-ตากสินติดโผเป็น ย่านที่มี Expat อยู่อาศัยมากติดอันดับทำเล Top 3 โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9 ของจำนวนยูนิตใหม่ที่มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ บางคนอาจสงสัยว่าทำไมย่านธนบุรี-ตากสินถึงเป็นย่านที่กลุ่ม Expat นิยมอยู่อาศัย ทั้งนี้เพราะ Expat ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่มักจะประกอบอาชีพเกี่ยวกับการศึกษา, โรงแรมและภัตตาคารเป็นหลัก รวมถึงพื้นที่ย่านธนบุรี-ตากสินมีศักยภาพในการเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่ม Expat ด้วยความที่ตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนอินเตอร์ชื่อดัง อาทิ Shrewsbury international school, Pioneer international school นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโรงเรียนคาทอลิกที่มีชื่อเสียง เช่น โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ที่ในปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนแบบหลายภาษาจากอาจารย์ชาวต่างชาติ อาทิ โรงเรียนอัสสัมชัญที่มีการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาจีนตั้งแต่ในระดับประถมศึกษา ก่อเกิดเป็นอุปสงค์ความต้องการอาจารย์ชาวต่างชาติ

นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งรวมโรงแรมชั้นนำระดับ 4-5 ดาว ที่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของโรงแรมระดับ 4-5 ดาวในกรุงเทพฯ อาทิ โรงแรมเพนนินซูล่า, โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล, โรงแรมแชงกรี-ลา ฯลฯ ที่มีการจ้างพนักงานชาวต่างชาติหลายตำแหน่งทั้งในส่วน Back และ Font ของโรงแรม เพื่อรับรองลูกค้านานาชาติระดับ High class ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง
กลุ่ม Expat ที่ทำงานในสถาบันการศึกษาและ โรงแรมเหล่านี้ ได้เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ย่านธนบุรี-ตากสินเป็นจำนวนมาก โดยย่านธนบุรี-ตากสินครอบคลุมพื้นที่ 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี, สถานีวงเวียนใหญ่ และสถานีโพธิ์นิมิตร ซึ่งแต่ละสถานีมีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกัน อย่างสถานีกรุงธนบุรี หากคุณเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจะได้รับความสะดวกสบาย เพราะสถานีกรุงธนบุรีตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งงานมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น CBD สีลม ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีกรุงธนบุรีเพียง 2 สถานีเท่านั้น นอกจากนั้นยังอยู่ใกล้กับย่านสถานศึกษา และกลุ่มโรงแรมริมน้ำ แต่อาจจะไม่เหมาะกับคนที่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว เพราะช่องทางการจราจรในบริเวณนี้มีการแบ่งทางคู่ขนาน กว่าจะเข้าสู่โครงการได้ต้องขับรถไปอ้อมไกล ในขณะที่ตอนเช้าต้องขับรถเพื่อออกไปทำงานในย่านสีลม ก็จะติดปัญหาเรื่องของการเปลี่ยนเลนไม่ทัน นอกจากนั้นในบริเวณโดยรอบสถานียังมีร้านค้าสะดวกซื้อ หรือร้านอาหารค่อนข้างน้อย การจะรับประทานอาหารแต่ละมื้ออาจต้องขับรถออกจากคอนโดมิเนียมเพื่อไปใช้งาน Community Mall บนถนนเจริญนคร หรือนั่งรถไฟฟ้าไปหาของกินแถววงเวียนใหญ่
ย่านสถานีวงเวียนใหญ่ขยับห่างออกมาจากสถานีกรุงธนบุรีอีก 1 สถานี ในราคาเฉลี่ย/ตร.ม. ที่มีราคาไล่เลี่ยกันกับสถานีกรุงธนบุรี แต่ย่านวงเวียนใหญ่เหมาะกับการเดินทางทุกประเภท ซึ่งระยะห่างที่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสถานีจะทำให้คุณเสียเวลาเดินทางเพิ่มไม่เกิน 5 นาทีเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันหากคุณเป็นผู้ใช้รถใช้ถนน การเลือกพักอาศัยในบริเวณสถานีวงเวียนใหญ่ จะได้รับความสะดวกมากกว่าสถานีกรุงธนบุรี เพราะไม่ต้องคอยพะวงเรื่องการเปลี่ยนเลนเข้าทางคู่ขนานด้านใน และตัวสถานีตั้งอยู่ใกล้กับจุดกลับรถ นอกจากนั้นบริเวณโดยรอบสถานียังอุดมไปด้วยร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และร้านกินดื่ม ที่ชาวต่างชาติมักจะแวะเวียนเข้ามาใช้บริการเป็นประจำ
ต่อมาคือสถานีโพธิ์นิมิตรซึ่งมีราคาเฉลี่ยต่อตร.ม.ถูกที่สุดใน 3 สถานีย่านธนบุรี-ตากสิน แต่ต้องแลกมาด้วยระยะทางที่ไกลจากแหล่งงาน ใช้เวลาในการเดินทางมากยิ่งขึ้น สภาพแวดล้อมโดยรอบสถานีตามริมทางโดยส่วนใหญ่เป็นที่พักอาศัยส่วนบุคคล ซึ่งให้ความสงบเงียบมากกว่าในสถานีอื่นๆ
ทั้ง 3 ทำเลมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้อยู่อาศัย หากคุณสนใจทำเลไหนเป็นพิเศษ ติดต่อเรา The Agent (Property Expert) เพราะเรามีโครงการที่ดี ห้องที่โดน บนทุกทำเลติดรถไฟฟ้า สนใจ.....ติดต่อ 02-056-2333
ข้อมูลอ้างอิง
กรมการจัดหางาน.(กระทรวงแรงงาน) (2560). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: 12/2560.
ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 (กระทรวงมหาดไทย) (2560). จำนวนโรงแรมในกรุงเทพฯ.กรุงเทพฯ: 14/06/2560.
ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (AREA). (2560). สถานการณ์อาคารชุดใจกลางเมือง ปี 2560. กรุงเทพฯ: 14/11/17.
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีการติดต่อการค้ากับนานาประเทศ ทำให้ กลุ่ม Expat จากชาติต่างๆ เข้ามาทำงานอยู่ภายในกรุงเทพฯ ไม่น้อยกว่า 55,000 คน ซึ่งได้กระจายตัวอยู่ตามทำเลต่างๆ ทั่วทั้งกรุงเทพฯ จากการเก็บข้อมูลของทางศูนย์ข้อมูลวิจัย และประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (AREA) พบว่าชาวต่างชาติอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมใหม่ที่สร้างเสร็จไม่เกิน 3 ปี ในกรุงเทพฯ มีจำนวนประมาณ 15,964 ยูนิต ซึ่งหลายคนคงเดาได้ว่า ย่านสุขุมวิทจะเป็นทำเลที่มีจำนวน Expat อยู่อาศัยมากที่สุดในกรุงเทพฯ โดยมีสัดส่วนมากถึง 40 % ของจำนวนยูนิตใหม่ที่มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ เนื่องจากย่านสุขุมวิทเป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นแหล่งที่ตั้งของบริษัทข้ามชาติชั้นนำจากนานาประเทศ ที่เข้ามาตั้งสาขาในประเทศไทย และยังมีการให้บริการของ Facility ที่ตอบสนองต่อความต้องการของ Expat ไม่ว่าจะเป็น International shopping center, international school, และ International Hospital ชั้นนำ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งสถานทูตที่ชาว Expat มักจะต้องแวะเวียนเข้ามาติดต่องานราชการอยู่เสมอ
รองลงมาได้แก่ย่านรัชดา-พระราม 9 อีกหนึ่งย่านฮอต ที่เพิ่งเติบโตขึ้นมาเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวน Expat คิดเป็นร้อยละ 15 ของจำนวนยูนิตใหม่ที่มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ ในบริเวณย่านรัชดา-พระราม 9 เป็นแหล่งที่ตั้งของสถานทูตจีน และเกาหลี นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์รวมออฟฟิศของบริษัทข้ามชาติจากประเทศจีน และเกาหลี อีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจ ที่กลุ่ม ชาวจีนและเกาหลี จะเข้ามาอยู่อาศัยในย่านนนี้เป็นจำนวนมาก และยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นย่าน New China Town แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ

และอันดับที่ 3 คือย่านธนบุรี-ตากสิน หลายคนอาจเซอร์ไพรส์ ที่ย่านธนบุรี-ตากสินติดโผเป็น ย่านที่มี Expat อยู่อาศัยมากติดอันดับทำเล Top 3 โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9 ของจำนวนยูนิตใหม่ที่มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ บางคนอาจสงสัยว่าทำไมย่านธนบุรี-ตากสินถึงเป็นย่านที่กลุ่ม Expat นิยมอยู่อาศัย ทั้งนี้เพราะ Expat ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่มักจะประกอบอาชีพเกี่ยวกับการศึกษา, โรงแรมและภัตตาคารเป็นหลัก รวมถึงพื้นที่ย่านธนบุรี-ตากสินมีศักยภาพในการเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่ม Expat ด้วยความที่ตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนอินเตอร์ชื่อดัง อาทิ Shrewsbury international school, Pioneer international school นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโรงเรียนคาทอลิกที่มีชื่อเสียง เช่น โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ที่ในปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนแบบหลายภาษาจากอาจารย์ชาวต่างชาติ อาทิ โรงเรียนอัสสัมชัญที่มีการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาจีนตั้งแต่ในระดับประถมศึกษา ก่อเกิดเป็นอุปสงค์ความต้องการอาจารย์ชาวต่างชาติ

นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งรวมโรงแรมชั้นนำระดับ 4-5 ดาว ที่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของโรงแรมระดับ 4-5 ดาวในกรุงเทพฯ อาทิ โรงแรมเพนนินซูล่า, โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล, โรงแรมแชงกรี-ลา ฯลฯ ที่มีการจ้างพนักงานชาวต่างชาติหลายตำแหน่งทั้งในส่วน Back และ Font ของโรงแรม เพื่อรับรองลูกค้านานาชาติระดับ High class ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง
กลุ่ม Expat ที่ทำงานในสถาบันการศึกษาและ โรงแรมเหล่านี้ ได้เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ย่านธนบุรี-ตากสินเป็นจำนวนมาก โดยย่านธนบุรี-ตากสินครอบคลุมพื้นที่ 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี, สถานีวงเวียนใหญ่ และสถานีโพธิ์นิมิตร ซึ่งแต่ละสถานีมีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกัน อย่างสถานีกรุงธนบุรี หากคุณเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจะได้รับความสะดวกสบาย เพราะสถานีกรุงธนบุรีตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งงานมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น CBD สีลม ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีกรุงธนบุรีเพียง 2 สถานีเท่านั้น นอกจากนั้นยังอยู่ใกล้กับย่านสถานศึกษา และกลุ่มโรงแรมริมน้ำ แต่อาจจะไม่เหมาะกับคนที่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว เพราะช่องทางการจราจรในบริเวณนี้มีการแบ่งทางคู่ขนาน กว่าจะเข้าสู่โครงการได้ต้องขับรถไปอ้อมไกล ในขณะที่ตอนเช้าต้องขับรถเพื่อออกไปทำงานในย่านสีลม ก็จะติดปัญหาเรื่องของการเปลี่ยนเลนไม่ทัน นอกจากนั้นในบริเวณโดยรอบสถานียังมีร้านค้าสะดวกซื้อ หรือร้านอาหารค่อนข้างน้อย การจะรับประทานอาหารแต่ละมื้ออาจต้องขับรถออกจากคอนโดมิเนียมเพื่อไปใช้งาน Community Mall บนถนนเจริญนคร หรือนั่งรถไฟฟ้าไปหาของกินแถววงเวียนใหญ่
ย่านสถานีวงเวียนใหญ่ขยับห่างออกมาจากสถานีกรุงธนบุรีอีก 1 สถานี ในราคาเฉลี่ย/ตร.ม. ที่มีราคาไล่เลี่ยกันกับสถานีกรุงธนบุรี แต่ย่านวงเวียนใหญ่เหมาะกับการเดินทางทุกประเภท ซึ่งระยะห่างที่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสถานีจะทำให้คุณเสียเวลาเดินทางเพิ่มไม่เกิน 5 นาทีเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันหากคุณเป็นผู้ใช้รถใช้ถนน การเลือกพักอาศัยในบริเวณสถานีวงเวียนใหญ่ จะได้รับความสะดวกมากกว่าสถานีกรุงธนบุรี เพราะไม่ต้องคอยพะวงเรื่องการเปลี่ยนเลนเข้าทางคู่ขนานด้านใน และตัวสถานีตั้งอยู่ใกล้กับจุดกลับรถ นอกจากนั้นบริเวณโดยรอบสถานียังอุดมไปด้วยร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และร้านกินดื่ม ที่ชาวต่างชาติมักจะแวะเวียนเข้ามาใช้บริการเป็นประจำ
ต่อมาคือสถานีโพธิ์นิมิตรซึ่งมีราคาเฉลี่ยต่อตร.ม.ถูกที่สุดใน 3 สถานีย่านธนบุรี-ตากสิน แต่ต้องแลกมาด้วยระยะทางที่ไกลจากแหล่งงาน ใช้เวลาในการเดินทางมากยิ่งขึ้น สภาพแวดล้อมโดยรอบสถานีตามริมทางโดยส่วนใหญ่เป็นที่พักอาศัยส่วนบุคคล ซึ่งให้ความสงบเงียบมากกว่าในสถานีอื่นๆ
ทั้ง 3 ทำเลมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้อยู่อาศัย หากคุณสนใจทำเลไหนเป็นพิเศษ ติดต่อเรา The Agent (Property Expert) เพราะเรามีโครงการที่ดี ห้องที่โดน บนทุกทำเลติดรถไฟฟ้า สนใจ.....ติดต่อ 02-056-2333
ข้อมูลอ้างอิง
กรมการจัดหางาน.(กระทรวงแรงงาน) (2560). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: 12/2560.
ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 (กระทรวงมหาดไทย) (2560). จำนวนโรงแรมในกรุงเทพฯ.กรุงเทพฯ: 14/06/2560.
ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (AREA). (2560). สถานการณ์อาคารชุดใจกลางเมือง ปี 2560. กรุงเทพฯ: 14/11/17.